วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Ice Cream for everyone


ไอศกรีม หรือชื่อที่คนไทยโดยทั่วไปชอบเรียกกันว่า ไอติมเป็นของหวานชนิดหนึ่งที่ต้องนำไปแช่แข็งก่อนจึงจะนำมารับประทานได้  ซึ่งไอศกรีมนี้จะมีการส่วนผสมต่างๆ  ก่อนจะนำไปผ่านการฆ่าเชื้อ  จากนั้นจึงนำไปปั่นที่เย็นจัดเพื่อให้อากาศเข้าไปพร้อมๆกัน กับการลดอุณหภูมิให้เย็นลงเรื่อยๆ  ซึ่งไอศกรีมนี้ก็หลากหลายรสชาติให้เลือกรับประทานหรืออาจจะเติมส่วนผสมอย่างอื่นเข้าไปในระหว่างการผสมด้วยก็ได้  โดยส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้ประจำฤดูกาล  เพื่อให้รสชาติของไอศกรีมกลมกล่อมขึ้น


ครั้งแรกของไอศกรีมกับประเทศไทย
จากประวัติศาสตร์ไอศกรีมในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับไอศกรีมโดยตรง แต่มีความเกี่ยวโยงเนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รู้จักกับน้ำแข็ง ซึ่งถูกนำเข้ามาสู่ดินแดนสยามประเทศครั้งแรกในสมัยนั้นโดยเรือกลไฟที่มาจากประเทศสิงคโปร์
                ประเภทของไอศกรีม
ไอศกรีมนั้นมีอยู่มากมายหลายชนิดในปัจจุบัน ซึ่งเราพอจะแบ่งชนิดของไอศกรีมได้ดังนี้

1.       Ice cream

2.       Frozen Custard ,French Ice Cream หรือ French Custard Ice Cream
3.       Low Fat Ice Cream
4.       Gelato
5.       Soft Serve
6.       Fruit Sherbet
7.       Sorbet
8.       Frozen Yogurt
9.       Granite
10.    Water Ice





ไอศกรีมรสสตรอว์เบอร์รี


ส่วนผสม

นมสด                    300     กรัม
วิปครีม                  700      กรัม
สตรอว์เบอร์รีสด
บดละเอียด             500     กรัม
น้ำตาลทราย           350     กรัม
กลูโคส (แบะแช)     40     กรัม
ผงไอศกรีม               1       ช้อนโต๊ะ
สีผสมอาหารสีชมพู
กลิ่นสตรอว์เบอร์รี






วิธีทำ
1.       ผสมนมสด กลูโคส ยกขึ้นตั้งไฟพอส่วนผสมละลายเข่ากัน ยกลงใส่ผงไอศกรีม
พักไว้ให้เย็น
2.       ตีวิปครีมกับน้ำตาลทรายให้ฟู ใส่ส่วนผสมในข้อที่ 1  ตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน
เทใส่กล่องปิกฝา
3.       นำเข้าตู้เย็นช่องธรรมดาประมาณ 3-4 ชั่วโมง หรือให้ส่วนผสมเย็นจัด
4.       นำส่วนผสมไอศกรีมออกจากตู้เย็น ใส่สีผสมอาหาร กลิ่นสตรอว์เบอร์รี
 และเนื้อสตรอว์เบอร์รี เทใส่ถังไอศกรีมปั่นจนไอศกรีมแข็งตัว ตักใส่ภาชนะนำเข้าตู้แช่แข็ง
ให้ส่วนผสมแข็งตัวยิ่งขึ้นก่อนนำออกเสิร์ฟ

ที่มา : หนังสือ Ice Cream

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น